การผ่าตัดหัวใจ

treatment
Cardiovascular Surgery
การผ่าตัดหัวใจแบ่งได้ใหญ่ ๆ เป็น 2 แบบ คือ การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (Open Heart Surgery) และการผ่าตัดหัวใจแบบปิด (Closed Heart Surgery)
table of contents

อะไรคือการผ่าตัดหัวใจ

ตัวบ่งชี้ของการผ่าตัดหัวใจ

ผ่าตัดหัวใจทำอย่างไร 

ความเสี่ยงของการผ่าตัดหัวใจ

การผ่าตัดหัวใจเตรียมตัวอย่างไร

หลังการผ่าตัด

ทีมผ่าตัดและห้องผ่าตัดไฮบริดใหม่ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ

อะไรคือการผ่าตัดหัวใจ

การผ่าตัดหัวใจแบ่งได้ใหญ่ ๆ เป็น 2 แบบ คือ 

  1. การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (Open Heart Surgery) โดยทั่วไปหมายถึงการผ่าตัดโดยใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม (Heart – Lung Bypass Machine) ช่วยในการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจบายพาส การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ การผ่าตัดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีรูรั่วภายในหัวใจ
  2. การผ่าตัดหัวใจแบบปิด (Closed Heart Surgery) คือการผ่าตัดโดยที่ไม่ต้องเปิดหัวใจ ไม่ต้องใช้ปอดหัวใจเทียมช่วยระหว่างการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดหลอดเลือดที่ออกจากหัวใจโดยที่ไม่ได้เข้าไปผ่าตัดภายในหัวใจ
  • ทั้ง 2 แบบจะต้องเปิดหน้าอก
  • ในปัจจุบันการผ่าตัดหัวใจหลายชนิดได้พัฒนาขึ้นมาก ในบางครั้งการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ การทำผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจบายพาสก็ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงและความเจ็บปวดน้อยลง แผลผ่าตัดเล็กลง

Open heart surgery

 

ตัวบ่งชี้ของการผ่าตัดหัวใจ

  • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจหรือผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจบายพาส (Coronary Artery Bypass Grafting: CABG) สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ / ตัน
  • การผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Valve Repair or Replacement)
  • การผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด (Surgery for Congenital Heart Disease)
  • การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Devices Implantation)
  • การเปลี่ยนหัวใจ (Cardiac Transplantation)

ผ่าตัดหัวใจทำอย่างไร 

  • ผู้ป่วยจะได้รับยาสลบให้มั่นใจว่าจะนอนหลับและปราศจากความเจ็บปวดตลอดการผ่าตัด
  • ศัลยแพทย์จะผ่าหน้าอกแผลขนาด 8 – 10 นิ้ว
  • ศัลยแพทย์จะผ่าผ่านกระดูกหน้าอกบางส่วนหรือทั้งหมดเพื่อที่จะเข้าถึงหัวใจ
  • เมื่อสามารถมองเห็นหัวใจ ผู้ป่วยอาจจะถูกเชื่อมต่อกับเครื่องปอดและหัวใจเทียม เครื่องจะทำหน้าที่แทนหัวใจและปอดระหว่างศัลยแพทย์ผ่าตัดหัวใจ เพื่อให้ไม่มีเลือดออกจากหัวใจและหัวใจหยุดเต้น ศัลยแพทย์ผ่าตัดหัวใจสามารถทำงานสะดวก ปัจจุบันการผ่าตัดบางชนิดสามารถทำได้โดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจ เทียม เป็นการลดภาวะแทรกซ้อนจากเครื่องปอดและหัวใจเทียม
  • หลังจากศัลยแพทย์ผ่าตัดหัวใจเสร็จ ศัลยแพทย์จะเย็บกระดูกหน้าอกด้วยลวดให้กระดูกติดกันเหมือนก่อนผ่าตัด และเย็บชั้นของผิวหนังกลับสู่สภาพเดิม

ความเสี่ยงของการผ่าตัดหัวใจ

  • อาการเจ็บหน้าอกและมีไข้
  • การหายใจลำบาก
  • การสูญเสียเลือด
  • ติดเชื้อแผลที่หน้าอก (พบมากในผู้ป่วยที่มีโรคอ้วนหรือโรคเบาหวาน)
  • หัวใจวาย
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • ปอดอักเสบหรือติดเชื้อ
  • ปอดหรือไตล้มเหลว
  • อัมพาต (Stroke)
  • ความเสื่อมของกระบวนการการรับรู้ (Cognitive Impairment)
  • การเกิดลิ่มเลือด
  • ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มากับเครื่องปอดและหัวใจเทียม

ความเสี่ยงเหล่านี้จะแตกต่างกันสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ควรปรึกษากับศัลยแพทย์หัวใจอย่างละเอียดสำหรับแต่ละกรณี

การผ่าตัดหัวใจเตรียมตัวอย่างไร

  • ผู้ป่วยควรบอกทีมแพทย์หากใช้ยาใด ๆ โดยเฉพาะยาที่ทำให้เลือดไม่แข็งตัว ได้แก่ ยาต้านการทำงานของเกล็ดเลือด (Antiplatelet) และยาป้องกันการก่อตัวของลิ่มเลือด (Anticoagulant) รวมถึงยาที่ซื้อใช้เองตามร้านขายยา (Over – The – Counter) วิตามิน และสมุนไพร
  • ควรแจ้งให้ทราบถึงการเจ็บป่วย เช่นไข้หวัดในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด
  • ขอให้หยุดสูบบุหรี่ประมาณ 6 อาทิตย์ก่อนผ่าตัด
  • วันก่อนการผ่าตัดผู้ป่วยควรทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัดด้วยสบู่พิเศษที่จะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังและจะช่วยลดโอกาสของการติดเชื้อหลังการผ่าตัด และจำเป็นต้องงดอาหารและเครื่องดื่มหลังเที่ยงคืนก่อนที่จะผ่าตัด หรือ 6 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด

หลังการผ่าตัด

  • เมื่อฟื้นตัวหลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะมีท่อระบาย 1 – 3 อันใส่อยู่ในช่องทรวงอก ซึ่งจะช่วยระบายเลือดที่ตกค้างและน้ำออกจากพื้นที่รอบหัวใจและปอด
  • จะมีการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ (Intravenous)
  • ผู้ป่วยจะได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะ ( Urine Catheter) หลังจากสลบในห้องผ่าตัดในกระเพาะปัสสาวะเพื่อระบายปัสสาวะออก และยังคงใช้ต่อไป 2 – 3 วันหลังผ่าตัด
  • คืนแรกผู้ป่วยจะต้องค้างในหน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก (Cardiac Care Unit: CCU หรือ Intensive Care Unit: ICU) จะมีเครื่องตรวจสอบหัวใจและพยาบาลคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
  • จากนั้นจะถูกย้ายไปยังห้องพักปกติสำหรับการดูแลต่อไป 3 – 7 วัน แต่อาจแตกต่างกันไปสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

ทีมผ่าตัดและห้องผ่าตัดไฮบริดใหม่ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ

Open heart surgery, Hybrid operation room

สอบถามเพิ่มเติมที่

ชั้น 2 โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 07.00 – 16.00 น.
info@bangkokhospital.com