เครื่องหัวใจ-ปอดเทียมแบบเคลื่อนย้าย (ECMO)
technology
table of contents
อะไรคือ ECMO
เป้าหมายของ ECMO คืออะไร
ECMO ใช้งานอย่างไร
ชนิด ECMO
ผู้ป่วยที่ไม่ควรใช้ ECMO
ภาวะแทรกซ้อน
อวัยวะที่ต้องดูแลระหว่างใช้เครื่อง ECMO
ECMO ควรใช้ที่ไหน
เครื่องพยุงปอดและหัวใจเทียมแบบเคลื่อนย้าย Transport ECMO
อะไรคือ ECMO
- ECMO ย่อมาจาก Extracorporeal Membrane Oxygenation
- ECMO เป็นขั้นตอนพิเศษที่จะช่วยแทนที่การทำงานของหัวใจและปอดในเวลาที่อวัยวะอ่อนแอเกินไปที่จะทำงานอย่างถูกต้อง ECMO นั้นไม่ได้ทำหน้าที่รักษา แต่ช่วยให้อวัยวะเหล่านี้ได้พักผ่อน
- คล้ายกับเครื่องที่ใช้สำหรับการผ่าตัดหัวใจ (Open – Heart Surgery) ซึ่งผู้ป่วยจะต้องใช้เครื่องเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่เครื่อง ECMO อาจต้องใช้ถึงหลายสัปดาห์
เป้าหมายของ ECMO คืออะไร
การที่ ECMO ช่วยทดแทนการใช้งานของอวัยวะที่มีปัญหา เช่น หัวใจหรือปอด อวัยวะเหล่านี้จึงมีเวลาพักฟื้น
ECMO จะใช้เฉพาะหลังจากได้ใช้มาตรการทางการแพทย์อื่น ๆ แล้ว เมื่อหัวใจและ/หรือ ปอดได้หายเป็นปกติแล้วจะไม่ต้องใช้เครื่อง ECMO อาจใช้เวลาไม่กี่วันหรือหลายสัปดาห์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
ECMO ใช้งานอย่างไร
ใส่ Cannulas (ท่อพลาสติก) เข้าไปในหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำตรงคอหรือขาหนีบ แพทย์ ECMO จะตัดสินใจว่า Cannula นั้นควรจะใส่ด้วยการผ่าตัดหรือแบบลวด Cannula จะช่วยให้เลือดออกจากร่างกาย ผ่านวงจร ECMO ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มออกซิเจนและลดคาร์บอนไดออกไซด์ ผู้ป่วยจึงต้องใส่ Cannula 2 ชึ้น
ชนิด ECMO
ECMO มี 3 แบบวงจร
- Veno – arterial ECMO (VA – ECMO): ช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซและสนับสนุนการไหลเวียนของโลหิต ในขณะที่เลือดนั้นถูกสูบจากเส้นเลือดดำสู่เส้นเลือดแดง ระบบนี้จะสนับสนุนหัวใจและปอด เช่นเดียวกับระบบที่ใช้ในห้องปฏิบัติการสำหรับการผ่าตัดหัวใจ
- Veno – venous (VV – ECMO): ช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซ เลือดจะถูกดูดออกจากเส้นเลือดดำและสูบกลับเข้าไปอีกครั้ง ระบบนี้จะใช้ได้กับปอดเท่านั้น
- Arterio – venous ECMO (AV – ECMO): ช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซโดยการใช้แรงดันของเลือดเพื่อที่จะสูบเลือดจากเส้นเลือดดำสู่เส้นเลือดแดง
จุดบ่งชี้ให้ใช้ ECMO
VA – ECMO จะใช้ในผู้ป่วยที่มี Refractory Cardiogenic Shock ที่มีโรคหัวใจที่มีโอกาสหายสนิท (Reversible Heart Condition) ยังสามารถใช้เป็นสะพานเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Ventricular Assist Device (VAD) หรือการปลูกถ่ายหัวใจ
อัตราการรอดของผู้ป่วยที่ใช้ VA – ECMO อยู่ระหว่าง 30 – 50% ตามสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจต่าง ๆ
รายการบ่งชี้เป็นภาษาอังกฦษ
VA-ECMO | VV-ECMO |
Clinical | |
Weaning from cardiopulmonary bypass after cardiac surgery | Any potentially reversible acute respiratory failure |
Bridge to left ventricular assist device (LVAD), cardiac transplantation | ARDS. Associated with pneumonia (viral or bacterial) |
Acute myocarditis | Failed lung transplant graft |
Intractable arrhythmia | Trauma (pulmonary contusion) |
Post-cardiac arrest (as part of Advance Life Support) | Pulmonary embolism (if acceptable cardiac function) |
Local anesthetic toxicity | Pulmonary hypertension (after pulmonary endarterectomy) |
ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันและผลพิสูจน์และผลประโยชน์ ECMO ที่ไม่แน่นอน ควรพิจารณาใช้ ECMO เมื่อการรักษามาตรฐานอื่น ๆ ล้มเหลว
ผู้ป่วยที่ไม่ควรใช้ ECMO
ผู้ป่วยที่มีความเสียหาย อวัยวะที่ไม่สามารถกู้คืน อวัยวะล้มเหลวหลายจุด มักจะไม่ได้รับประโยชน์จากการสนับสนุน ECMOโดยทั่วไปจะไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใส่สารกันเลือดแข็งตัวไว้ การรักษาด้วย ECMO ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่แนะนำให้มีผู้เชี่ยวชาญ ECMO คอยให้ข้อบ่งชี้ข้อห้ามในแต่ละกรณี
ภาวะแทรกซ้อน
อาการตกเลือด: ผู้ป่วยส่วนใหญ่จำเป็นต้องใส่สารกันเลือดแข็งตัวอย่างต่อเนื่องและผู้ป่วยมากกว่า 50% จะต้องเจอกับอาการตกเลือด
- Thromboembolism (อุดตัน): การอุดตันในวงจร ECMO สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของเครื่องสูบหรือเครื่องให้ออกซิเจน (Oxygenator) ใน VA – ECMO สามารถนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองหรือ Leg Ischemia (ขาขาดเลือด)
- การจัดการเรื่อง ECMO จะรวมถึงการตรวจสอบเลือดเพื่อหาความสมดุลของเลือดที่แข็งตัวที่ดีที่สุด
- ภาวะแทรกซ้อนติดเชื้ออาจจะเกี่ยวข้องกับ Indwelling Lines, Access Sites or Primary Pathology
- หากวงจร ECMO ล้มเหลวหรือแตกอาจนำไปสู่ภาวะโรคหัวใจที่ร้ายแรง แต่เป็นเรื่องที่ไม่ปกติตราบใดที่ทุกองค์ประกอบมีความปลอดภัย
- Cannula (ท่อพลาสติก) สามารถเป็นปัญหาได้หากหลุดหรืออยู่ในจุดที่ผิด จะมีผลต่อการไหลเวียนเลือดและประสิทธิภาพ ECMO
- ควรมีพนักงานที่ได้รับการฝึกอบรมอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของวงจร ECMO อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันปัญหาและตอบสนองทันทีในกรณีล้มเหลวเฉียบพลัน
อวัยวะที่ต้องดูแลระหว่างใช้เครื่อง ECMO
- ระบบปอดและทางเดินหายใจ
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด
- ระบบประสาท
- ระบบไต
- ระบบเลือด
- ระบบการติดเชื้อ
- ระบบน้ำ, เกลือแร่ และอาหาร
ECMO ควรใช้ที่ไหน
- ควรมีทีมสหสาขาวิชาชีพนำโดย Specialized Cardiothoracic and Vascular Surgical Services
- พนักงานควรผ่านการฝึกอบรมอย่างดี
- มีเกณฑ์สำหรับการจัดการ ECMO รวมถึงข้อบ่งชี้และข้อห้าม (Indications and Contraindications)
- ระบบการขนส่งที่เหมาะสม
เครื่องพยุงปอดและหัวใจเทียมแบบเคลื่อนย้าย Transport ECMO
โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ (Bangkok Heart Hospital) ขยายโอกาสการรักษาผู้ป่วยวิกฤติโรคหัวใจและปอด ด้วย “เครื่องหัวใจและปอดเทียม ช่วยการทำงานของหัวใจและปอดระหว่างเคลื่อนย้ายผู้ป่วย” (TRANSPORT Extra Corporal Membrane Oxygenator) หรือ TRANSPORT ECMO
เพราะการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติของโรคหัวใจและปอด เช่น
- อาการหัวใจวายเฉียบพลัน
- กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
- อาการปอดอักเสบหรือติดเชื้ออย่างรุนแรง จนปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ เป็นภาวะเร่งด่วนและมีการดูแลอย่างใกล้ชิดที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก
ยิ่งผู้ป่วยวิกฤติที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรืออยู่ในสถานพยาบาลที่ไม่สามารถให้การรักษาพยาบาลอย่างเหมาะสม มีความจำเป็นต้องทำการเคลื่อนย้ายเพื่อส่งไปยังสถานพยาบาลที่มีความพร้อมมากกว่า จึงมีโอกาสเสี่ยงและอาจเสียชีวิตในระหว่างการเคลื่อนย้ายได้
จากประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะปอดและหัวใจทำงานผิดปกติในโรงพยาบาลและการรักษาแบบเคลื่อนที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมั่นใจว่าสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยวิกฤติที่อยู่ห่างไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ”