การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echocardiogram)

diagnosis
Noninvasive Diagnostic Service
ใช้หลักการส่งคลื่นเสียงที่ปลอดภัยเข้าไปในทรวงอกแล้วรับเสียงที่สะท้อนออกมาไปแปลเป็นภาพให้เห็นบนจอ ซึ่งจะแสดงถึงรูปร่าง ขนาด การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และลิ้นหัวใจว่าปกติหรือไม่ โดยใช้หัวตรวจ (Transducer) ซึ่งดูคล้ายไมโครโฟน ส่งสัญญาณเสียงไปยังหัวใจของคุณ และรับสัญญาณเสียงที่สะท้อนกลับมาแปลงเป็น ภาพให้เห็นบนจอ
table of contents

Echocardiogram คืออะไร

Echocardiogram บอกอะไรกับเรา

ชนิดของ Echocardiogram

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ Echocardiogram และระหว่างที่ทำ Echocardiogram

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจ Echocardiogram

Echocardiogram ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ

Echocardiogram คืออะไร

ใช้หลักการส่งคลื่นเสียงที่ปลอดภัยเข้าไปในทรวงอกแล้วรับเสียงที่สะท้อนออกมาไปแปลเป็นภาพให้เห็นบนจอ ซึ่งจะแสดงถึงรูปร่าง ขนาด การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และลิ้นหัวใจว่าปกติหรือไม่ โดยใช้หัวตรวจ (Transducer) ซึ่งดูคล้ายไมโครโฟน ส่งสัญญาณเสียงไปยังหัวใจของคุณ และรับสัญญาณเสียงที่สะท้อนกลับมาแปลงเป็น ภาพให้เห็นบนจอ
                     
การตรวจวิธีนี้เป็นการตรวจเพื่อดูขนาดของห้องหัวใจตามแรงการบีบตัวของกล้ามเนื้อ หัวใจผ่านผนังหน้าอก การทำงานของลิ้นหัวใจภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ ช่องหัวใจโต และตรวจหาภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยง่าย หรือแน่นหน้าอก

Echocardiogram บอกอะไรกับเรา

  • เพื่อประเมินดูขนาดของห้องหัวใจทั้ง 4 ห้อง ว่ามีภาวะหัวใจโตหรือเปล่ารวมถึงประเมินความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจ
  • เพื่อประเมินดูการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันหรือเปล่า
  • ค่าที่เราได้จากการประเมินการบีบตัวของหัวใจ ที่ได้ยินกันอยู่เป็นประจำ คือ EF ย่อมาจาก Ejection Fraction เป็นค่าที่ใช้
  • บอกสัดส่วนความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ
  • เพื่อประเมินดูการทำงานของลิ้นหัวใจว่ามีโรคของลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่วหรือเปล่า
  • เพื่อประเมินดูว่ามีก้อนเนื้อหรือก้อนลิ่มเลือดในห้องหัวใจหรือลักษณะของลิ้นหัวใจติดเชื้อหรือเปล่า
  • เพื่อประเมินดูโรคของเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardium) เช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ภาวะมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจจนทำให้เกิดการบีบรัดหัวใจ
  • ใช้ประเมินดูโรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนต้น (Proximal Ascending Aorta) เช่น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาดแบบเฉียบพลัน (Acute Aortic Dissection)
  • เพื่อประเมินโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจพิการแต่กำเนิด

นอกจากนี้การใช้คุณสมบัติทางฟิสิกส์ที่เรียกว่า Doppler Ultrasound ทำให้เราทราบทิศทางการไหลและความเร็วในการเคลื่อนไหวของเลือด ใช้ประเมินเรื่องการคลายตัวของหัวใจ และประเมินระดับความรุนแรงของการตีบหรือรั่วของลิ้นหัวใจ

เครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง, ECHOCARDIOGRAM

ชนิดของ Echocardiogram

เราแบ่งการทำ Echocardiogram ออกเป็น 3 ประเภทคือ  

  1. Transthoracic Echocardiogram (การทำ Echocardiogram ผ่านทางผนังหน้าอก) เป็นชนิดของ Echocardiogram ที่ใช้บ่อยที่สุดในเวชปฏิบัติ เนื่องจากทำได้ง่าย สะดวก และไม่ต้องมีการเตรียมตัวที่ยุ่งยากอะไร มีค่าใช้จ่ายในการทำต่ำที่สุด ภาพที่ได้เกิดจากการเก็บภาพที่ตำแหน่งต่าง ๆ กัน สามารถให้รายละเอียดได้ดี แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง เช่นในกรณีที่ผู้ป่วยมีผนังหน้าอกที่หนาหรือมีช่องระหว่างซี่โครงที่แคบหรือผู้ป่วยที่มีผนังหน้าอกผิดรูป อาจให้ภาพที่ได้ไม่ชัดเจนและส่งผลทำให้แปรผลได้ลำบาก นอกจากนี้การแยกความแตกต่างของเนื้อเยื่อที่มีขนาดเล็กกว่า 4 – 5 มิลลิเมตรอาจทำได้ลำบากและอาจจะต้องใช้การตรวจ Transesophageal Echocardiogram เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจให้มากขึ้น   
  2. Transesophageal Echocardiogram (การทำ Echocardiogram โดยการส่องกล้องผ่านทางหลอดอาหาร) เป็นการตรวจเพื่อบันทึกภาพของหัวใจจากด้านในของทางเดินอาหาร เนื่องจากทางเดินอาหารอยู่ด้านหลังของหัวใจ ทำให้การตรวจวิธีนี้ได้เห็น Movement ของหัวใจได้ชัดกว่าการตรวจด้วย Transthoracic Echocardiogram ปกติซึ่งตรวจที่หน้าอกด้านนอก ระหว่างการตรวจ คลื่นเสียงจะสะท้อนเป็นภาพของหัวใจ ขณะปั๊มเลือดผ่านลิ้นหัวใจซึ่งทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยความผิดปกติได้ว่าเกิดจากความผิดปกติที่ผนังหัวใจหรือลิ้นหัวใจ
  3. Intracardiac Echocardiogram (การทำ Echocardiogram โดยการใส่สายเข้าไปที่ห้องหัวใจโดยตรง) ถือเป็นวิธีการตรวจซึ่งยังไม่เป็นที่แพร่หลายและยังไม่เป็นที่นิยมใช้ในเวชปฏิบัติ จึงยังไม่ขอกล่าวในที่นี้

          

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ Echocardiogram และระหว่างที่ทำ Echocardiogram

Transthoracic echocardiogram 

  • การตรวจวิธีนี้ไม่ต้องงดอาหารหรือยาที่ทานประจำก่อนการตรวจ ยกเว้นกรณีที่ต้องประกอบกับ การทดสอบด้วยการออกกำลังบนสายพานเลื่อน ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  • ควรสวมชุดที่เป็นเสื้อและกางเกง และอาจจะต้องถอดเสื้อออก แล้วเปลี่ยนเป็นสวมเสื้อคลุมที่ทาง โรงพยาบาลจัดไว้ให้แทนขณะตรวจ  
  • เจ้าหน้าที่จะติดแผ่นขั้วสัญญาณไฟฟ้า (Electrode) ไว้บริเวณทรวงอกเพื่อดูอัตราการเต้นของหัวใจ จากนั้นแพทย์จะใช้หัวตรวจทาด้วยเจลเย็น ๆ ขยับไปมาบนผนังทรวงอกของคุณ หัวตรวจจะสร้างคลื่นเสียง ซึ่งจะถูกแปลงเป็นภาพหัวใจของคุณให้เห็นบนจอรับสัญญาณ
  • ผู้ป่วยควรหายใจออกและกลั้นไว้ช่วงสั้น ๆ เป็นพัก ๆ เพราะอากาศในปอดอาจมีผลต่อความชัดเจนของภาพที่เห็น
  • ภาพของหัวใจจะถูกบันทึกไว้ เพื่อให้แพทย์สามารถเปิดดูผลการตรวจและใช้วินิจฉัยโรคภายหลังได้อีก  
  • การตรวจจะใช้เวลาโดยประมาณ 20 – 40 นาที
  • ภายหลังการตรวจผู้ป่วยสามารถกลับไปปฏิบัติภารกิจปกติได้ทันทีหลังการตรวจเสร็จสิ้น
  • เมื่อได้ผลการตรวจแล้วแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยจะอธิบายให้ทราบถึงสมรรถภาพหัวใจและแนะนำแนวทางการ ตรวจรักษาที่เหมาะสมสำหรับคุณต่อไป

Transesophageal echocardiogram 

  • การเตรียมตัวก่อนการตรวจ ควรงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนการตรวจสามารถดื่มน้ำ เพียงเล็กน้อยในกรณีที่ต้องทานยา
  • หากท่านมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืน โรคของบริเวณช่องคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ควรแจ้งให้แพทย์ ทราบก่อนทำการตรวจ
  • ควรมีคนคอยดูแลและพากลับหลังการตรวจ และห้ามขับรถเป็นเวลา 12 ชั่วโมง เพราะจะมีอาการงัวเงีย จากฤทธิ์ยาคลายกังวล
  • เมื่อมาถึงห้องตรวจ เจ้าหน้าที่จะให้เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดที่โรงพยาบาลเตรียมไว้ให้
  • เจ้าหน้าที่จะให้อมยาชาประมาณ 20 นาที แล้วจึงให้กลืนยา หลังจากนั้นอาจพ่นยาชาที่คอ แล้วอาจได้รับยาคลายวิตกกังวล และ/หรืออาจได้รับออกซิเจน
  • ผู้รับการตรวจต้องถอดฟันปลอมออก จากนั้นแพทย์จะให้นอนตะแคงซ้ายบนเตียงตรวจแพทย์จะค่อย ๆ สอดท่อที่มีหัวตรวจเข้าทางปาก ในขณะที่ค่อย ๆ กลืนจนท่อหัวตรวจลงไปถึงหลอดอาหาร อาจรู้สึกว่าแพทย์ขยับท่อไปมา แต่ไม่ได้รบกวนการหายใจ
  • ขณะที่แพทย์ตรวจ เจ้าหน้าที่จะวัดชีพจรความดันโลหิตและประเมินการหายใจด้วยการวัดความเข้มข้น ของออกซิเจนในเลือด
  • การตรวจใช้เวลาประมาณ 20 – 40 นาที
  • แพทย์อาจให้ดูภาพที่บันทึกได้จากการตรวจและวางแผนการรักษาหรือนัดมาในครั้งต่อไป
  • ภายหลังการตรวจ เจ้าหน้าที่จะแนะนำไม่ให้คุณรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำร้อน – น้ำเย็นจัดจนกว่า ยาชาจะหมดฤทธิ์ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง
  • หากมีอาการผิดปกติหลังการตรวจ เช่น เจ็อคอ เลือดออก คอแข็ง หายใจลำบาก ควรแจ้งให้แพทย์ ทราบทันที

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจ Echocardiogram

การตรวจ Echocardiogram ถือว่าเป็นการตรวจที่มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ยังไม่เคยมีรายงานถึงอันตรายจาการ ใช้คลื่นเสียงที่ระดับ ความถี่ที่ใช้ในการตรวจด้วย Echocardiogram

การตรวจด้วย Transthoracic Echocardiogram เป็นการตรวจที่ถือว่าแทบจะไม่มีความเสี่ยง ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บหน้าอก บ้างบริเวณที่ต้องใช้ แรงกดจาก Transducer เพื่อทำให้เห็นภาพได้ชัดเจน ผู้ตรวจสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้หากมีอาการ เจ็บบริเวณที่โดนกด

การตรวจด้วย Transesophageal Echocardiogram สามารถพบอาการที่ไม่พึงปรารถนาได้มากกว่าแต่อาจมีภาวะบางชนิดเช่น 

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • รู้สึกรำคาญ หรือมีอาการระคายเคืองบริเวณปากและลำคอ
  • อึดอัด หายใจลำบาก
  • เลือดออกเล็กน้อยบริเวณช่องปากหรือลำคอ
  • ชีพจรเต็นเร็วหรือเต้นช้าผิดปกติ
  • ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ซึ่งพบได้น้อยมาก คือ หลอดอาหารเป็นแผลหรือหลอดอาหารทะลุ

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หากท่านมีโรคหรืออาการที่ผิดปกติดังนี้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที ก่อนทำการตรวจ 

  • มีประวัติเคยได้รับการฉายแสงที่บริเวณลำคอหรือหน้าอก
  • โรคของหลอดอาหารต่าง ๆ  เช่น โรคหลอดอาหารตีบ โรคหลอดอาหารเป็นแผลรุนแรง โรคหลอดเลือด  โป่งพองบริเวณหลอดอาหาร
  • โรคที่เกี่ยวเนื่องกับกระดูกสันหลังบริเวณคอ
  • โรคที่เกี่ยวข้องกับการกลืนลำบาก
  • โรคที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะการแข็งตัวของเลือดหรือทานยากันการแข็งตัวของเลือด

Echocardiogram ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ

ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เราให้บริการการตรวจ Echocardiogram ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยทั้ง การตรวจ Echocardiogram ทั้งหมดเฉลี่ย 30 – 50 รายในทุกวัน นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีใหม่ในการตรวจทาง Echocardiogram เข้ามาประยุกต์ใช้ เช่น การตรวจ Echocardiogram ด้วยภาพสามมิติ (3D – Echocardiogram), Strain Imaging เป็นต้น

dd

สอบถามเพิ่มเติมที่

ชั้น 2 อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 07.00 – 16.00 น.
info@bangkokhospital.com