การตรวจอัลตราซาวนด์การไหลเวียนของหลอดเลือดแดงใหญ่ไปเลี้ยงสมองที่คอ

diagnosis
Noninvasive Diagnostic Service
เมื่อเส้นเลือดใหญ่ที่ไปเลี้ยงสมองบริเวณคอ (Carotid Artery) มีการสะสมของคราบไขมันและแคลเซียม (Atherosclerotic Plaque) มากขึ้นจะทำให้เส้นเลือดดังกล่าวเริ่มมีการตีบตันและการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงซึ่งเทคนิคดังกล่าวนี้จะสามารถตรวจพบลักษณะของคราบไขมันสะสมและการไหลเวียนที่ลดลงของเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง
table of contents

การตรวจอัลตราซาวนด์การไหลเวียนของหลอดเลือดแดงใหญ่ไปเลี้ยงสมองที่คอคืออะไร

ข้อบ่งชี้

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ  

อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจ

ขั้นตอนการตรวจ

การแปรผลการตรวจ

หลังการตรวจ

การตรวจทางเลือกอื่น

การรักษาเส้นเลือดแดงใหญ่ที่คอตีบ

การตรวจอัลตราซาวนด์การไหลเวียนของหลอดเลือดแดงใหญ่ไปเลี้ยงสมองที่คอคืออะไร

เมื่อเส้นเลือดใหญ่ที่ไปเลี้ยงสมองบริเวณคอ (Carotid Artery) มีการสะสมของคราบไขมันและแคลเซียม (Atherosclerotic Plaque) มากขึ้นจะทำให้เส้นเลือดดังกล่าวเริ่มมีการตีบตันและการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงซึ่งเทคนิคดังกล่าวนี้จะสามารถตรวจพบลักษณะของคราบไขมันสะสมและการไหลเวียนที่ลดลงของเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง โดยอาศัยลักษณะภาพสะท้อนคลื่นเสียง และตรวจจับหาการไหลเวียนเพื่อบอกว่าจะมีหรือไม่มีการตีบตันของเส้นเลือดดังกล่าว รวมถึงความรุนแรงของการตีบตันได้ ซึ่งการตรวจด้วยวิธีดังกล่าวนี้ใช้หลักการของอัลตราซาวนด์ซึ่งเป็นการตรวจที่ Non-Invasive ปลอดภัยและไม่เจ็บตัว ไม่มีการใช้รังสีและสารทึบแสง

ข้อบ่งชี้

  1. เพื่อคัดกรองหาการตีบและการไหลเวียนผิดปกติของหลอดเลือด Carotid Artery รวมไปถึงแขนงหลักของหลอดเลือดดังกล่าว ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือด เช่น
    • คนที่มีประวัติการตีบตันของหลอดเลือดบริเวณอื่น
    • คนไข้เบาหวาน
    • ความดันโลหิตสูง
    • ไขมันในเลือดสูง
    • สูบบุหรี่
    • ประวัติครอบครัวเป็นเส้นหัวใจหรือเส้นเลือดสมองตีบ
    • คนอ้วน
    • คนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
  2. ในผู้ป่วยที่เป็นเส้นเลือดสมองตีบทั้งแบบชั่วคราวและแบบอัมพฤกษ์ อัมพาต
  3. เพื่อประเมินหาจุดตีบตัน ปริมาณ และตำแหน่งของหลอดเลือดที่ตีบตันในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
  4. ในผู้ป่วยที่มีเสียงฟู่ของหลอดเลือดแดงที่คอผิดปกติ (Carotid Bruit) ที่สงสัยเส้นเลือดตีบ
  5. เพื่อประเมินผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ
  6. เพื่อหาความหนาของหลอดเลือดแดงใหญ่ (Intimal Media Thickening IMT) เพื่อประเมินหาความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
  7. เพื่อติดตามผลและตำแหน่งของ Stent ในผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วย Carotid Stent แล้ว

Carotid Duplex Ultrasound Test

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ  

  • สวมเสื้อผ้าที่สบายตัว ไม่รัดบริเวณคอหรือเสื้อผ้าที่ทางแผนกจัดเตรียมไว้ให้
  • ถอดอุปกรณ์การแต่งกายและเครื่องประดับทุกชนิดบริเวณคอที่จะทำการตรวจ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจ

  • เครื่องอัลตราซาวนด์
  • หัว Probe อัลตราซาวนด์ที่ใช้ในการตรวจ
  • Gel และสารหล่อลื่นหัวตรวจ

ขั้นตอนการตรวจ

ผู้รับการตรวจจะถูกขอให้นอนลงในท่านอนหงายหนุนหมอนและผู้ทำการตรวจจะทำการตรวจด้วยหัว Probe ทั้งสองข้างของหลอดเลือด Carotid ผู้รับการตรวจจะถูกขอให้หันหน้าทิศทางตรงกันข้ามกับข้างที่จะทำการตรวจ ผู้ทำการตรวจจะใช้เจลเย็นบริเวณที่ตรวจ และจะทำการอัลตราซาวนด์บริเวณหลอดเลือดที่คอไปมา เพื่อได้ภาพดีที่สุด ผู้รับการตรวจอาจจะได้ยินเสียงการไหลเวียนโลหิต เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการตรวจ ผู้ทำการตรวจจะเช็ดเจลออกจากบริเวณคอและภาพจะถูกนำไปวิเคราะห์ผล

การแปรผลการตรวจ

ตาม A consensus conference in 2003 of the society of radiologists in ultrasound 

  • ผลปกติ คือ : ICA PSV <125 cm/s และ no plaque หรือไม่เห็น intimal thickness
  • <50% stenosis : ICA PSV <125 cm/s หรือมี plaque/intimal thickness
  • 50-69% stenosis : ICA PSV 125-130 cm/s และมี plaque
  • >70% stenosis : ICA PSV >230 cm/s และพบ plaque หรือ lumen ตีบ

หลังการตรวจ

ไม่มีขั้นตอนใดพิเศษที่ต้องดูแลหลังการตรวจและผู้รับการตรวจสามารถทานอาหาร ทำงาน ขับรถ และทำกิจกรรมได้ปกติหลังจากเสร็จสิ้นการตรวจ

การตรวจทางเลือกอื่น

  1. Carotid MRI/MRA
  2. Carotid CT
  3. Carotid Angiogram

การรักษาเส้นเลือดแดงใหญ่ที่คอตีบ

  1. การรักษาด้วยยา : ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับความเสี่ยง และการใช้ยาที่เหมาะสม
  2. การรักษาด้วยการผ่าตัด : Carotid Endarterectomy
  3. การรักษาด้วยการทำบอลลูนและใส่ขดลวด

Carotid Duplex Ultrasound Test

สอบถามเพิ่มเติมที่

ชั้น 2 อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 07.00 – 16.00 น.
info@bangkokhospital.com