การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Primary PCI)

การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Primary PCI)
แชร์

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนับเป็นภาวะฉุกเฉินที่อันตราย เพราะผู้ป่วยอาจเสียชีวิตทันทีถึงครึ่งหนึ่ง ณ ที่เกิดเหตุ เพราะการนําไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ทําให้หัวใจเต้นระริกไม่บีบตัว จําเป็นต้องได้รับการรักษาโดยด่วน

รักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

การรักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ได้แก่

  • การใช้ไฟฟ้าช็อกหัวใจร่วมกับการปั๊มหัวใจและช่วยการหายใจอย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถรักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ในขั้นต้น
  • การเปิดเส้นเลือดที่อุดตันให้เร็วที่สุด เพราะยิ่งเวลาผ่านไปเกิน 6 ชั่วโมง ผนังกล้ามเนื้อที่ขาดเลือดจะยิ่งถูกทําลายและเกิดภาวะหัวใจวายในเวลาต่อมา


โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมีห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและทีมงานพร้อมแพทย์ผู้ชํานาญในการใช้ลวดเล็ก ๆ สอดผ่านหลอดเลือดส่วนต้นและทําการขยายหลอดเลือดด้วยลูกโป่ง วิธีนี้พบว่าสามารถเปิดหลอดเลือดได้สําเร็จกว่า 90% และมีประโยชน์มากกับผู้ป่วยที่หัวใจขาดเลือดจนช็อก




โรคอันตรายที่คุณอาจป้องกันได้​

ผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง ถ้าได้รับการลดไขมันลงมาในระดับที่เหมาะสมจะสามารถลดการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือดได้ ทําให้หลอดเลือดตีบน้อยลงหรืออย่างน้อยก็ไม่ตีบมากขึ้น แต่จําเป็นจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 – 3 ปี นอกจากนี้สามารถลดอัตราการเสียชีวิต รวมทั้งอุบัติการณ์ในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันลง 30%

แชร์

สอบถามเพิ่มเติมที่

ชั้น 1 โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
เปิดบริการทุกวัน 07.00 - 16.00 น.
info@bangkokhospital.com