Polygenic Risk Score ตรวจพันธุกรรมและโรคหัวใจ

Polygenic Risk Score ตรวจพันธุกรรมและโรคหัวใจ
แชร์

ตรวจพันธุกรรมประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ

ดูแลสุขภาพอย่างตรงจุด ลดเสี่ยง ป้องกันโรคในระยะยาว


ทำความรู้จัก
POLYGENIC RISK SCORE

  • บทบาทการตรวจพันธุกรรมโรคหัวใจในปัจจุบัน
    ถึงแม้ปัจจุบันจะมีองค์ความรู้มากมายในการรักษาโรคหัวใจ แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมทุกจุดของการรักษา ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคือการป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งสำคัญกว่าการรักษาโรคหัวใจ Polygenic Risk Score (PRS) การตรวจหาโอกาสเกิดโรคหัวใจได้ถึงระดับต้นตอด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม ไม่เพียงช่วยให้คุณรู้ว่ามีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากน้อยแค่ไหน แต่ยังช่วยให้ดูแลป้องกันโรคหัวใจได้อย่างถูกวิธี เพื่อสุขภาพหัวใจที่แข็งแรงไปอีกนาน
  • Polygenic Risk Score คืออะไร และโรคใดที่สามารถทำนายได้
    การตรวจ Polygenic Risk Score (PRS) เป็นการตรวจทางพันธุกรรมเฉพาะรายบุคคลเพื่อวิเคราะห์ผลของยีนที่มีผลต่อการเกิดโรค โดยสามารถค้นหาตำแหน่งของยีนที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจได้ โดยเฉพาะ
  • โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
  • โรคหัวใจเต้นพริ้ว (Atrial Fibrillation)
  • ความสำคัญและประโยชน์ของ Polygenic Risk Score
    Polygenic Risk Score (PRS) เป็นการตรวจหาความเสี่ยงการเกิดโรคทางพันธุกรรมจากยีน โดยสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงโรคหัวใจได้ในคนทุกเพศทุกวัยตั้งแต่ยังไม่เกิดโรคหรือมีอาการแสดงใด ๆ เพื่อนำไปสู่การวางแผนดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง
  • ใครที่ควรได้รับการตรวจ Polygenic Risk Score และเมื่อใด
    การตรวจ Polygenic Risk Score ตรวจได้ในคนทุกเพศทุกวัย ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา โดยผู้เข้ารับการตรวจสบายใจได้เรื่องผลข้างเคียง เพราะไม่มีอันตรายและไม่มีความเสี่ยงเรื่องของการใช้สารทึบแสง รังสี หรือกัมมันตรังสีใด ๆ 

Polygenic Risk Score ตรวจพันธุกรรมและโรคหัวใจ

ผลการตรวจและการแปลผล POLYGENIC RISK SCORE

  • ผลการตรวจ POLYGENIC RISK SCORE รอนานแค่ไหน
    ปัจจุบันโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพได้นำเทคโนโลยีการถอดรหัสทางพันธุกรรมเข้ามาใช้จึงไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลไปยังห้องแล็บต่างประเทศ ช่วยให้รู้ผลได้ภายใน 4 – 6 สัปดาห์
  • ลักษณะการแปลผล POLYGENIC RISK SCORE
    แพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจจะนำข้อมูลพันธุกรรมที่จำเพาะเจาะจงในแต่ละบุคคลมาวิเคราะห์และแปลผลอย่างเป็นระเบียบแบบแผนเพื่อหาโอกาสและความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้เป็นความลับเฉพาะบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
  • การปฏิบัติตัวเมื่อผลการตรวจ POLYGENIC RISK SCORE พบความเสี่ยงโรคหัวใจ
    หากผลการตรวจ Polygenic Risk Score พบโอกาสในการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจเต้นพริ้ว และโรคหัวใจชนิดต่าง ๆ ผู้เข้ารับการตรวจจะได้รับการประเมินความเสี่ยง (Risk Stratification) กับแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจอย่างละเอียด เพื่อคาดการณ์การเกิดโรคอย่างมีประสิทธิภาพ 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ POLYGENIC RISK SCORE

  • ผลการตรวจ POLYGENIC RISK SCORE แม่นยำมากแค่ไหน
    องค์ความรู้ทางพันธุศาสตร์ของการเกิดโรคได้มีการพัฒนาและค้นพบอย่างก้าวกระโดด ทำให้สามารถทราบความเสี่ยงของการเกิดโรคได้เชิงลึก ไม่ว่าจะเสี่ยงสูงมากหรือไม่มีความเสี่ยง โดยอาศัยจำนวนตำแหน่งเฉพาะเจาะจงบนยีน ยิ่งมีมากเท่าไรความแม่นยำยิ่งมากขึ้นเท่านั้น 
  • หากตรวจพบความเสี่ยงสูงมากกว่าคนทั่วไปต้องทำอย่างไร 
    หากตรวจ Polygenic Risk Score แล้วพบว่ามีโอกาสเสี่ยงสูงมากกว่าคนทั่วไป ยิ่งต้องประเมินตนเอง ระมัดระวังตนเองไม่ให้มีความเสี่ยงใดเพิ่มเติม เฝ้าระวังตนเองในเรื่องของพฤติกรรมการใช้ชีวิตและไลฟ์สไตล์ให้ห่างไกลจากความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
  • การตรวจ POLYGENIC RISK SCORE ต้องตรวจบ่อยแค่ไหน
    การตรวจ Polygenic Risk Score ไม่ว่าจะตรวจในช่วงเวลาใดของชีวิต ลักษณะของพันธุกรรมจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่อาจเปลี่ยนแปลงคือจำนวนและตำแหน่งที่ค้นพบว่าเป็นจุดกำเนิดของโรค ซึ่งจะมีมากขึ้นในอนาคต

ทำไมต้องตรวจ POLYGENIC RISK SCORE ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ

คลินิกโรคพันธุกรรมด้านโรคหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพพร้อมให้บริการตรวจประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจอย่างละเอียดโดยแพทย์พันธุกรรมศาสตร์และแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ เพื่อให้ทราบความเสี่ยงการเกิดโรค วางแผนการดูแลสุขภาพหัวใจได้อย่างเหมาะสมในระยะยาว ห่างไกลโรครุนแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว

แชร์

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์โรคหัวใจ ชั้น 1 โรงพยาบาลหัวใจ
เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 07.00 – 16.00 น.
info@bangkokhospital.com