ตรวจ M.R.A Brain เพื่อดูสภาพเส้นเลือดสมอง

ตรวจ M.R.A Brain เพื่อดูสภาพเส้นเลือดสมอง
แชร์

หลอดเลือดสมองโป่งพอง

โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะสามารถเกิดขึ้นได้ในคนปกติทั่วไปในทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนมากพบในคนอายุ 40 – 60 ปี เพศหญิงพบมากกว่าเพศชายเล็กน้อย โรคหลอดเลือดสมองโป่งมักตรวจพบเมื่อมีอาการแตก ซึ่งเมื่อผู้ป่วยเกิดหลอดเลือดสมองโป่งแตกในสมอง (Rupture Aneurysm) จะมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง คือ 50% เกิดความพิการ 25% และสามารถหายเป็นปกติแค่ 25% แต่หากตรวจพบหลอดเลือดสมองโป่งก่อนที่จะแตกจะมีอัตราการเสียชีวิตเพียง 2 – 3% เกิดความพิการ 7% และกว่า 90% สามารถเป็นปกติ ดังนั้นถ้าสามารถวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองโป่งที่ยังไม่แตกและรักษาได้ตั้งแต่แรกจะได้ผลที่ดีกว่า เพราะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตและความพิการลงได้

สาเหตุของโรค

โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองเกิดจากผนังเส้นเลือดแดงเส้นใดเส้นหนึ่งส่วนแขนอ่อนแรง โดยกลไกการเกิดเชื่อว่า เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติแต่กำเนิดของผนังเส้นเลือดหรือเกิดจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง เนื่องจากผนังหลอดเลือดถูกแรงดันกระแทกอยู่ตลอดเวลา เป็นผลให้ผนังผิดปกติ แล้วจึงถูกดันให้โป่งเป็นกระเปาะออกมา

ซึ่งหลอดเลือดโป่งในสมองที่เสี่ยงต่อการแตกจะขึ้นอยู่กับ
  • ขนาดและตำแหน่งของเส้นเลือดสมองโป่ง
  • รูปร่างของเส้นเลือดที่โป่ง
  • อายุและเพศของคนไข้
  • สุขภาพและประวัติครอบครัวคนไข้


ปัจจัยเสี่ยงโรค

1. การสูบบุหรี่
2. ความดันโลหิตสูง
3. การดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมากเป็นประจำ
4. มีระดับไขมันในเลือดสูง
5. การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นประจำ


อาการเตือน

  • โดยทั่วไปจะไม่เกิดอาการผิดปกติก่อนแตก
  • ในรายที่มีอาการโดยส่วนใหญ่จะมีอาการดังต่อไปนี้
    1. ปวดศีรษะมากอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อนหรือเหมือนหัวจะระเบิด บางรายจะมีอาการอาเจียนร่วมด้วย
    2. หนังตาตก มองเห็นภาพซ้อน หรือตาเหล่กะทันหัน และจักษุแพทย์สาเหตุไม่พบ


ตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางหลอดเลือดทั้งร่างกาย

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ดีคือ การตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางหลอดเลือดทั่วร่างกาย (Total Body Vascular) โดยแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อตรวจหาเส้นเลือดสมองโป่งก่อนที่จะมีอาการแตก กรณีที่ควรตรวจหาอย่างยิ่ง ได้แก่

  1. มีญาติสนิทระดับที่ 1 (บิดา มารดา พีน้อง หรือบุตร) ที่มีเส้นเลือดในสมองแตก 1 คน และมีญาติสนิทระดับที่ 1 หรือ ระดับที่ 2 (ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือหลาน)  มีเส้นเลือดในสมองแตกอีก 1 คน
  2. ผู้ที่ป่วยเป็นโรคถุงน้ำในไต
  3. ผู้ที่เคยมีเส้นเลือดในสมองแตกและได้รับการรักษาแล้ว
  4. ผู้ที่มีอายุ 40 – 60 ปี และมีปัจจัยเสี่ยงโรค
แชร์

สอบถามเพิ่มเติมที่

ชั้น 1 โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
เปิดบริการทุกวัน 07.00 - 16.00 น.
info@bangkokhospital.com