รับมือให้ถูกเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นโรคหัวใจ

การดูแลเจ้าตัวน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนกระทั่งลืมตาดูโลกอย่างแข็งแรงคือสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ให้ความสำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีความผิดปกติของหัวใจย่อมส่งผลให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลวที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการรับมืออย่างถูกต้องจึงเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้คุณแม่และคุณลูกแข็งแรง
โรคหัวใจที่ตรวจพบเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์
พบได้หลายสาเหตุ ได้แก่
- คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นโรคหัวใจ เช่น รูห์มาติก เป็นต้น
- คุณแม่ตั้งครรภ์เริ่มมีภาวะหัวใจผิดปกติ เช่น หัวใจอ่อนกำลังโดยสาเหตุไม่แน่ชัด เป็นต้น
- คุณแม่ตั้งครรภ์กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากเชื้อไวรัสบางชนิด

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นโรคหัวใจ
หากคุณแม่ตั้งครรภ์พบว่าตนเองมีอาการขาบวม ความดันสูง เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบง่าย หัวใจเต้นแรง เต้นไม่เป็นจังหวะ เป็นต้น อาจเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่ากำลังเป็นโรคหัวใจ สิ่งที่ต้องทำคือ- รีบตรวจเช็กร่างกายอย่างละเอียดกับอายุรแพทย์หัวใจและสูตินรีแพทย์ร่วมกัน
- วินิจฉัยโรคและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์
- ทำการรักษาอย่างถูกต้อง โดยขึ้นอยู่กับลักษณะอาการและความรุนแรงของโรคหัวใจที่พบ
- โรคหัวใจแต่กำเนิดหรือรูห์มาติก เน้นการเฝ้าระวังและดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด
- โรคหัวใจที่พบเมื่อตั้งครรภ์ เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ เน้นเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนและครรภ์เป็นพิษ ควรรับการประเมินจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
- หากต้องทานยาจะต้องเป็นไปตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น เพราะยาบางชนิดมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
- ระมัดระวังการอักเสบและติดเชื้อในร่างกาย เช่น ไข้หวัดหรือโรคทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
- ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามคำแนะนำของแพทย์
อันตรายของคุณแม่ตั้งครรภ์กับโรคหัวใจ
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจมีโอกาสที่จะหัวใจวายและเสียชีวิตทั้งคุณแม่และคุณลูก เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ความรุนแรงของโรคหัวใจแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดไม่มีคุณแม่ตั้งครรภ์คนใดอยากพบกับความผิดปกติของร่างกาย ดังนั้นการตรวจร่างกายและตรวจสุขภาพหัวใจอย่างละเอียดตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์คือสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยอย่างเด็ดขาด เพื่อให้วางแผนการมีลูกได้อย่างราบรื่น

สอบถามเพิ่มเติมที่
ชั้น 1 โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
เปิดบริการทุกวัน 07.00 - 16.00 น.
info@bangkokhospital.com