หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ถึงชีวิตถ้าไม่รีบรักษา

หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ถึงชีวิตถ้าไม่รีบรักษา
แชร์
ปัจจุบันพบว่าสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยที่ไม่ใช่อุบัติเหตุมาจากโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงเป็นอันดับ 2 รองเพียงแค่โรคมะเร็งเท่านั้น และมีแนวโน้มการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันที่ปัจจุบันคนไทยมีอัตราการเกิดโรคนี้มากที่สุดและเป็นสาเหตุของการตายอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย

รู้จักหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเกิดจากความเสื่อมของเส้นเลือด ผลจากการมีไขมันและการสะสมของหินปูนไปเกาะเส้นเลือดแดง จนเกิดการอุดตันหรือเส้นเลือดแตกเกิดขึ้น  จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง บางรายอาจทำให้เสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้ ส่วนเหตุที่ทำให้หลอดเลือดหัวใจเสื่อม เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น การสูบบุหรี่  ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน เป็นต้น

สาเหตุหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

สาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันพบว่า อาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่เข้าไปเกี่ยวข้อง เนื่องจากการบริโภคของคนไทยเปลี่ยนไป โดยหันมานิยมอาหารจานด่วนที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดตมากขึ้น ขณะเดียวกันการเป็นสังคมเมือง ทำให้การออกกำลังกายน้อยลงและมีความเครียดมากกว่าอดีต
 

อาการหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

อาการของผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจอุดตันบางส่วนอาจไม่มีอาการแสดง แต่ในผู้ป่วยที่หลอดเลือดหัวใจอุดตันค่อนข้างมาก ที่พบมากที่สุด คือ อาการเจ็บหน้าอกอย่างมากจนทนไม่ได้ เหมือนมีอะไรหนัก ๆ กดทับตรงกลางหน้าอก เหมือนช้างมาเหยียบ หรือการเจ็บจากหน้าอกขึ้นไปถึงคาง หรือเจ็บลงไปถึงแขนซ้าย
 


รักษาหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

วิธีการรักษาที่ได้รับนิยมมักจะใช้วิธีการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือที่รู้จักกันว่า “การทำบายพาสหัวใจ” โดยแพทย์จะใช้เส้นเลือดภายในทรวงอกด้านซ้ายและเส้นเลือดแดงบริเวณแขนซ้าย หรือเส้นเลือดดำบริเวณขา ตั้งแต่ข้อเท้าด้านในจนถึงโคนขาด้านในมาเย็บต่อเส้นเลือดเพื่อนำเลือดแดงจากเส้นเลือดแดงใหญ่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ขาดเลือดโดยข้ามผ่านเส้นเลือดส่วนที่ตีบ กรณีแพทย์ตัดสินใจทำการผ่าตัด ส่วนใหญ่จะทำเมื่อเส้นเลือดตีบและอุดตันแล้วประมาณ 70% ขึ้นไป แต่หากมีไขมันมาเกาะโดยไม่มีหินปูน และมีอายุ 30 – 40 ปี อาจรักษาด้วยการทานยาอาจช่วยให้ไขมันลดลง หรือกรณีที่อุดตันเส้นเดียวก็ทานยาหรือใส่ขดลวดบอลลูนได้

ผ่าตัดบายพาสหัวใจ

สำหรับการทำผ่าตัดบายพาสหัวใจ เพื่อรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันในปัจจุบัน มี 2 วิธี  คือ

  1. การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (Off – Pump CABG) หรือแบบ “ไม่ต้องหยุดหัวใจ”
  2. การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ แบบต้องใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (On Pump CABG) เพื่อ “หยุด” การทำงานของหัวใจทั้งหมด


โดยทั่วไปแพทย์หัวใจจะใช้วิธีการผ่าตัดบายพาสหัวใจแบบใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมเพื่อหยุดการทำงานของหัวใจทั้งหมด แต่ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ แพทย์หัวใจจะมีความชำนาญในการผ่าตัดบายพาสหัวใจยังเต้นอยู่ โดยใช้เครื่องมือเกาะยึดหัวใจให้หยุดนิ่ง ข้อดีของการผ่าตัดบายพาสหัวใจแบบนี้ก็คือ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแทรกซ้อนจากเครื่องปอดหัวใจเทียม แต่ก็อาจพบได้ 2 – 3% กรณีผู้ป่วยมีปัญหาโรคแทรกซ้อนอื่น เช่น ไตวายชั่วคราว Stroke หลังผ่าตัด เลือดไม่แข็งตัวทำให้เลือดออกไม่หยุด เป็นต้น นอกจากนั้นการผ่าตัดบายพาสแบบไม่หยุดหัวใจยังทำให้ใช้ปริมาณเลือดน้อยลง และลดระยะเวลาในการผ่าตัดและการดมยาสลบให้สั้นลง ตลอดจนระยะเวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาลก็สั้นกว่าแบบผ่าตัดบายพาสหยุดหัวใจ

ปัจจุบันการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจของไทย มีการทำทั้งสองแบบ สำหรับการผ่าตัดแบบไม่ต้องหยุดหัวใจเป็นเทคโนโลยีแนวใหม่ที่นำมาใช้เมื่อประมาณสิบกว่าปีที่ผ่านมา ขณะที่แบบเดิมหรือผ่าตัดโดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมทำกันมานานกว่า 40 ปี โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพจึงได้พัฒนาการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจแบบไม่ต้องหยุดหัวใจ ซึ่งให้ผลการรักษาดีกว่าแบบเดิม แต่จะมีความเสี่ยงเล็กน้อยในการต่อเส้นข้างใต้หัวใจที่หัวใจยังเต้นอยู่ แต่ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญจึงลดความเสี่ยงและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยได้


โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมีทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดบายพาสหัวใจที่รองรับผู้ป่วยผ่าตัดได้ตลอด 24 ชั่วโมง
นอกจากมีทีมแพทย์ที่มีความชำนาญด้านโรคหัวใจแล้วยังพร้อมด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัด
รักษาโรคหัวใจที่ทันสมัยและได้มาตรฐานระดับสากล

 

แชร์

สอบถามเพิ่มเติมที่

ชั้น 1 โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
เปิดบริการทุกวัน 07.00 - 16.00 น.
info@bangkokhospital.com