ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft - CABG)

ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft - CABG)
แชร์

การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft – CABG) เป็นการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด โดยศัลยแพทย์หัวใจจะใช้เทคนิคบายพาสหัวใจทั้งแบบใช้และไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม ตามความจำเป็นของผู้ป่วย

การผ่าตัดรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจผิดปกติของโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาค โดยมีการผสมผสานการผ่าตัดหัวใจในขณะที่หัวใจยังเต้นอยู่ (Off – Pump CABG) การผ่าตัดโดยใช้หลอดเลือดแดง และการผ่าตัดแบบแผลเล็กเข้าด้วยกัน ได้แก่

  • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (บายพาสหัวใจ) โดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (OPCAB)
    การผ่าตัดด้วยวิธีนี้เป็นการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกประมาณร้อยละ 24 ประโยชน์ของวิธีการผ่าตัดแบบนี้คือ เป็นการผ่าตัดแบบหัวใจยังเต้นอยู่โดยใช้เครื่องมือ Local Stabilizer เกาะยึดหัวใจในจุดที่ทำการต่อเส้นเลือดให้หยุดนิ่ง ในขณะที่ส่วนอื่นของหัวใจยังเต้นเป็นปกติ เพื่อหลีกเลี่ยงผลแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมที่แม้จะมีโอกาสเกิดขึ้นเพียงร้อยละ 2 – 3 เท่านั้น แต่อาจก่อให้เกิดปัญหารุนแรงได้ เช่น ปอดเสื่อม ไตวายชั่วคราว ภาวะเป็นอัมพาตหลังการผ่าตัดและเลือดไม่แข็งตัว เป็นต้น ข้อดีของการทำการผ่าตัดแบบนี้คือใช้เลือดน้อยกว่า ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อยลง ระยะเวลาในการใช้เครื่องช่วยหายใจสั้นกว่า ระยะเวลาในการรักษาตัวในห้อง ผู้ป่วยหนักตลอดจนการพักฟื้นในโรงพยาบาลสั้นลง

  • การผ่าตัดโดยใช้หลอดเลือดแดง (ALL ARTERIAL CONDUITS)
    การผ่าตัดที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ศัลยแพทย์จะไม่นิยมใช้เส้นเลือดดำจากขา ยกเว้นว่าไม่สามารถหาเส้นเลือดแดงจากที่อื่นได้ เนื่องจากผลจากการศึกษาพบว่า การผ่าตัดโดยใช้หลอดเลือดแดงมีผลดีมากต่อผู้ป่วยในระยะยาว

  • การผ่าตัดแผลขนาดเล็ก
    การผ่าตัดที่ทำให้เนื้อเยื่อถูกกระทบกระเทือนน้อยที่สุด ความเจ็บป่วยน้อยกว่า แผลเล็กและมีลักษณะไม่น่าเกลียด ใช้เวลาในการพักฟื้นที่โรงพยาบาลสั้นลง
แชร์

สอบถามเพิ่มเติมที่

ชั้น 2 โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 07.00 – 16.00 น.
info@bangkokhospital.com