ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและการดามขดลวด

ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและการดามขดลวด
แชร์

ขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด 

การขยายหลอดเลือดด้วยการสวนหัวใจและบอลลูนหัวใจ (Balloon Angioplasty) เป็นวิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจซึ่งได้รับความนิยม เพราะไม่ต้องผ่าตัดและมีความเสี่ยงต่ำ โดยแพทย์จะสอดสายสวนหัวใจ (Guiding Catheter) ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดจิ๋วอยู่ตรงปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่ขาหรือแขน เมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมันหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง หลังจากนั้นจึงทำให้บอลลูนแฟบเหมือนเดิม แล้วดึงสายสวนหัวใจออกจากร่างกาย

ในกรณีที่แพทย์เห็นว่ารอยตีบยังขยายได้ไม่กว้างพอจะทำการใส่ขดลวดเล็ก ๆ (Stent) เข้าไปยึดติดกับผนังหลอดเลือด บางกรณีอาจมีการนำขดลวดที่เคลือบด้วยยามาใช้แทนขดลวดธรรมดา ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายหลอดเลือดแล้ว ยังลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งลดปัญหาการกลับมาตีบซํ้าได้ด้วย แต่ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์และผู้ป่วยเป็นสำคัญ


ข้อดีของการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด

  • โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนตํ่ากว่าการผ่าตัดบายพาส เพราะไม่ต้องทำการผ่าตัดและดมยาสลบ
  • ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น (1 – 2 วัน) กลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้เร็ว
  • สามารถทำซ้ำได้หลายครั้ง ในกรณีที่หลอดเลือดตีบแคบลงอีกในอนาคต


ข้อจำกัดของการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด

  • ลักษณะการตีบบางอย่างไม่เอื้อต่อการทำบอลลูน
  • มีโอกาสกลับมาตีบซํ้าได้อีกตรงบริเวณเดิม เนื่องจากกระบวนการสมานแผลตามธรรมชาติของร่างกาย
แชร์

สอบถามเพิ่มเติมที่

ชั้น 2 โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 07.00 – 16.00 น.
info@bangkokhospital.com