กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและอาการใจสั่น
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเกิดจากหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวหรือมีไขมันเกาะที่ผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดตีบแคบลงจนอุดตันจะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรค
- โรคความดันโลหิตและไขมันในเลือดสูง
- การสูบบุหรี่
- โรคเบาหวาน
- ความอ้วน
- ความเครียด
- การไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือวัยหลังหมดประจำเดือน
- ผู้มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
อาการทั่วไป
- ใจสั่น
- เจ็บหน้าอก
- หายใจลำบาก
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- เหงื่อออก
- เวียนศีรษะ
สัญญาณอันตราย
สัญญาณอันตรายคือ อาการเจ็บหน้าอกที่มีลักษณะเฉพาะ
- เจ็บตรงกลางหน้าอก เยื้องลงมาทางลิ้นปี่เล็กน้อย
- จุกแน่น อึดอัด บางทีร้าวไปถึงคอหอย ไหล่ซ้าย ข้อศอก หรือท้องแขนซ้าย กรามหรือคอด้านซ้าย
- บางรายมีอาการใจหวิว ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ เหงื่อซึม หน้ามืดหมดสติ
ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและใจสั่น ได้แก่- ควบคุมความดันโลหิตและเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน เพราะคนอ้วนหัวใจต้องทำงานมากกว่าปกติ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงความเครียด
- เลี่ยงอาหารที่มีไขมัน
- เลิกสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินและสารอื่น ๆ มีอันตรายต่อผนังบุด้านในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว ลดปริมาณเลือดที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
อย่างไรก็ตามหากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเป็น ๆ หาย ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
สอบถามเพิ่มเติมที่
ชั้น 1 โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
เปิดบริการทุกวัน 07.00 - 16.00 น.
info@bangkokhospital.com