หลอดเลือดโป่งพองต้องรู้ให้เร็ว

หลอดเลือดโป่งพองต้องรู้ให้เร็ว
แชร์
ชายวัย 72 ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลด้วยอาการปวดแน่นท้องอย่างรุนแรง ตามมาด้วยภาวะความดันตกและช็อกหมดสติ กระเพาะทะลุ ลำไส้อักเสบ ไส้ติ่งแตก จากการซักถามประวัติการรักษาจากญาติพบว่า คนไข้เคยทำบายพาสหัวใจเมื่อ 10 ปีที่แล้ว มีโรคประจำตัวคือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและโรคถุงลมโป่งพอง ข้อมูลดังกล่าวทำให้การวินิจฉัยเพื่อตรวจรักษาทำได้ง่ายขึ้น ประกอบกับอาการปวดแน่นรุนแรงในช่องท้อง แพทย์จึงพุ่งเป้าไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้อง ซึ่งเป็นหลอดเลือดสายหลักที่เชื่อมตรงกับหัวใจ


“กรณีเคสข้างต้นถือเป็นผู้ป่วยซับซ้อนขั้นวิกฤติที่ต้องระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากการผ่าตัดเพื่อรักษาหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้องที่แตกนั้น จะต้องหนีบหลอดเลือดแดงใหญ่เหนือบริเวณที่โป่งพองและแตกออกให้ทัน เพื่อไม่ให้เลือดไหลมากจนความดันตกและช็อก ในขณะเดียวกันศัลยแพทย์ก็ต้องผ่าตัดอย่างรวดเร็ว เพราะอวัยวะภายในขาดเลือดไปเลี้ยงในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เช่น ไขสันหลังที่ขาดเลือดได้ไม่เกิน 30 นาที มิเช่นนั้นจะเสี่ยงเกิดอัมพาตครึ่งท่อนล่าง ในกรณีนี้ทีมแพทย์ตัดสินใจใช้วิธีผ่าตัดทางด้านข้าง โดยกรีด 2 แห่ง คือ บริเวณทรวงอกเพื่อหนีบหลอดเลือดแดงใหญ่และเหนือบริเวณที่โป่งพองและแตก จากนั้นจึงเปิดช่องท้องด้านข้างลำตัวเพื่อป้องกันผลกระทบต่อการทำงานของลำไส้ และใช้เทคโนโลยีเส้นเลือดเทียมไปแทนที่เส้นเลือดที่โป่งพองแตกให้กลับมาใช้งานได้ปกติ โดยใช้เวลาในการผ่าตัดทั้งสิ้น 19 นาที ช่วยให้ผู้ป่วยผ่านภาวะวิกฤติ และหายได้หลังพักฟื้นและทำกายภาพบำบัด”



 

หลอดเลือดโป่งพองคืออะไร

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง คือ สภาวะที่หลอดเลือดขยายใหญ่หรือโป่งพองขึ้น จากผนังหลอดเลือดแข็งตัวและขาดความยืดหยุ่น เกิดได้จากหลายสาเหตุ

ปัจจัยเสี่ยงหลอดเลือดโป่งพอง

ปัจจัยเสี่ยง 7 ข้อ ได้แก่

1) บุหรี่
2) ความดันโลหิตสูง
3) ภาวะไขมันในเลือดสูง
4) น้ำหนักตัวเกิน
5) ความเครียด
6) กรรมพันธุ์
7) การติดเชื้อในกระแสเลือด

รักษาหลอดเลือดโป่งพองอย่างไร

สำหรับการรักษาหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง หากพบการโป่งพองไม่เกิน 5 เซนติเมตร แพทย์จะให้รับประทานยาร่วมกับการติดตามผลการรักษา โดยการเอกซเรย์หรืออัลตราซาวนด์ปีละ 1 ครั้ง แต่หากโป่งพองมากกว่า 5 เซนติเมตร แพทย์จะให้ยารับประทานและติดตามผลถี่ขึ้น ร่วมกับการควบคุมปัจจัยเสี่ยง แต่หากเส้นเลือดที่โป่งพองแตก ต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้เร็วที่สุด ยิ่งเร็วโอกาสรอดชีวิตยิ่งมีมาก


ความรุนแรงเมื่อ
หลอดเลือดโป่งพองคืออะไร

ความน่ากลัวของโรคนี้คือ ผู้ป่วยไม่รู้ตัวมาก่อน เพราะโป่งพองไม่มาก จะไม่มีอาการแสดงออก กระทั่งเมื่อเส้นเลือดโป่งพองมากจนไปกดทับอวัยวะข้างเคียง ก็จะเกิดอาการกับอวัยวะนั้น เช่น อาการปวดแน่นในท้อง แม้โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองมีโอกาสหาย หากเส้นเลือดที่โป่งพองไม่แตก ในทางกลับกันหากหลอดเลือดแดงใหญ่ที่โป่งพองในช่องท้องหรือบริเวณอื่นแตก อัตราการเสียชีวิตจะสูงถึง 50%

ป้องกันหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

การดูแลป้องกันตนเองจากหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ทำได้โดยตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง
  • ในผู้ที่อายุต่ำกว่า 30 ปี แต่อายุกิน 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจร่างกายโดยใส่ใจการเอกซเรย์ปอด อัลตราซาวนด์ช่องท้อง ตรวจการทำงานของตับ ไต ทดสอบประสิทธิภาพของหัวใจ
  • ในผู้ที่อายุ 30 – 45 ปีเป็นช่วงอายุกึ่งกลาง ต้องพิจารณาจาก 7 ปัจจัยเสี่ยงข้างต้น หากพบว่าน้อยกว่า 3 ปัจจัยก็สามารถตรวจสุขภาพเหมือนคนอายุ 30 ปี แต่หากพบปัจจัยเสี่ยงมากกว่า 3 ปัจจัย ควรตรวจสุขภาพเหมือนคนอายุ 45 ปีขึ้นไป แต่หากพบว่าหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้องแตก ต้องรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ยิ่งเร็วยิ่งมีโอกาสรอด ที่สำคัญควรเลือกโรงพยาบาลที่มีศัลยแพทย์และเครื่องมือที่พร้อมจะทำการผ่าตัดให้เร็วที่สุด


แพทย์ที่ชำนาญการรักษาโรค
หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

นพ.วิฑูรย์ ปิติเกื้อกูล ศัลยแพทย์โรคหัวใจและทรวงอก ชำนาญด้านการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ซ่อมและเปลี่ยนลิ้นหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ


โรงพยาบาลที่ชำนาญการรักษาโรค
หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ พร้อมให้การดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองด้วยแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจที่มากด้วยประสบการณ์ พยาบาล ทีมสหสาขาวิชาชีพ และเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง

แชร์

สอบถามเพิ่มเติมที่

ชั้น 1 โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
เปิดบริการทุกวัน 07.00 - 16.00 น.
info@bangkokhospital.com